วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โปรโตคอล

โปรโตคอล คืออะไร?
โปรโตคอล หรือ Protocol คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัด รูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโปรโตคอลจะมีหลายมาตรฐานที่จะให้ผู้เขียนโปรแกรมเลือกใช้ และแต่ละโปรโตคอลก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
ความสำคัญของโปรโตคอล
ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโปรโตคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ โปรโตคอลนี้เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใช้มาตรฐานโปรโตคอลต่างๆร่วมกันทำงานมากมาย นอกจากโปรโตคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโปรโตคอลย่อยที่ช่วย ทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง อีกมาก
การทำงานของโปรโตคอล
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีหลายมาตรฐานหลายยี่ห้อ แต่ก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพราะมีการใช้โปรโตคอลมาตรฐานที่มีข้อกำหนดให้ทำงานร่วมกันได้
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้บริการหรือเป็นไคลแอนต์ (Client) สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านไปยังเครื่องให้บริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) บนเครือข่าย การทำงาน
ของพีซีที่เชื่อมต่อร่วมกับเซิร์ฟเวอร์ก็จำเป็นต้องใช้โปรโตคอลเพื่อประยุกต์ใช้งานรับส่งข้อมูล ซึ่งโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารนี้ก็มีมากมายหลายประเภทด้วยกัน
ตัวอย่างของโปรโตคอล
1. โปรโตคอล HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape หรือ Internet Explorer เรียกดูข้อมูลหรือเว็บเพจ โปรแกรมบราวเซอร์ดังกล่าวจะใช้โปรโตคอล HTTP ซึ่งโปรโตคอลนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลมาให้บราวเซอร์ตามต้องการ และบราวเซอร์จะนำข้อมูลมาแสดงผลบนจอภาพได้อย่างถูกต้อง มาตรฐานและรูปแบบการรับส่งข้อมูลจึงต้องได้รับการกำหนดและเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน
2. โปรโตคอล TCP หรือ Transfer Control Protocol กล่าวคือ การติดต่อระหว่างบราวเซอร์กับเซิร์ฟเวอร์ย่อมต้องเปิดช่องสื่อสารระหว่างกัน ช่องสื่อสารทั้งสองข้างมีช่องหมายเลขกำกับ ซึ่งเราเรียกว่า "พอร์ต (Port)" และพอร์ตนี้ได้รับการกำกับดูแลด้วยโปรโตคอลหนึ่งที่มี ชื่อว่า TCP (Transfer Control Protocol) ซึ่งทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์บริการไคลแอนต์ได้หลายๆ ไคลแอนต์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เมื่อผู้ใช้ทางด้านผู้ใช้บริการหรือไคลแอนต์ใช้โปรแกรมแบบทำงานหลายอย่างในขณะเดียวกัน (Multitasking) เช่น บน Windows 98 ก็สามารถเปิดหลายๆงาน บนเครื่องเดียวกัน เป็นต้น เพราะผ่านพอร์ตต่างกันคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ในระดับ OS จึงมีการกำหนดหมายเลขพอร์ตเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกันได้ การเชื่อมระหว่างกันจึงทำได้ในลักษณะเครือข่ายที่เชื่อมโยงผ่านถนนสายเดียวกัน
3. โปรโตคอล IP หรือ Internet Protocol กล่าวคือ การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนี่งได้ถูกต้องเพราะมีโปรโตคอลที่ใช้ในการหาตำแหน่งซึ่งในกรณีนี้ใช้โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล หรือที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ส่วน IP นี้มีการกำหนดแอดเดรสของคอมพิวเตอร์ที่เราเรียกว่า เลขที่อยู่ไอพี (IP Address) อีกต่อหนึ่ง
4. โปรโตคอล SMIP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย ผู้เขียนจดหมายใช้โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor) เขียนจดหมายเมื่อเขียนเสร็จแล้วมีการจ่าหน้าถึงแอดเดรสปลายทาง ข้อความหรือจดหมายฉบับนั้นจะรับส่งกันด้วยโปรแกรมรับส่งเมล์ที่ใช้โปรโตคอลมาตรฐาน SMIP ลักษณะการรับส่งในระดับ SMTP มีการกำหนดให้เครื่องใดเครื่องหนึ่งเชื่อมกับเครื่องอื่น ในฐานะที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนจดหมายหรือที่ เรียกว่า Mail Exchange ตัวแลกเปลี่ยนจดหมายจะตรวจสอบแอดเดรสของจดหมาย และนำส่ง ต่อกันจนถึงปลายทาง เช่นเดียวกับการประยุกต์อื่น การรับส่งจดหมายระหว่างเครื่องจะเปลี่ยน

ไม่มีความคิดเห็น: